วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อินเตอร์เน็ตและการใช้งาน

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

เครือข่ายของเครือข่ายซึ่งก็คือ การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่โยงใยกันทั่วโลก
โดยเครือข่ายดังกล่าวจะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันแม้คอมพิวเตอร์
ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายดังกล่าวอาจจะต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ก็สามารถสื่อสารกันได้และคอมพิว-
เตอร์แต่ละเครื่องภายในเครือข่ายสามารถรับส่งข้อมูลกันในรูปแบบต่างๆได้หลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร
ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น




ความเป็นมาของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

ปี ค.ศ. 1969 หน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Anvanced Research Projects Agency : ARPA) ของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนงานวิจัยเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยในช่วงแรกรู้จักในนามของ อาร์พาเน็ต (ARPANET)  อาร์พาเน็ตแบ่งออกได้เป็น 2 เครือข่าย ซึ่งได้แก่ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง (ARPANET) และเครือข่ายของกองทัพ (MILNET)  ซึ่งต่อมาหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมากได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต ทำให้เกิดการขยายเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1984  เครือข่ายนี้ถูกเรียกว่า อินเทอร์เน็ต (internet) จนถึงปัจจุบัน

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 


ปี พ.ศ.2530
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)  ได้เชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยและสถาบันไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย  โดยเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้าและเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว
ปี พ.ศ. 2535
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 5 แห่ง เกิดเป็นเครือข่ายที่เรียกว่า เครือข่ายไทยสาร โดยสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัทยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา
ปี พ.ศ. 2536
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้เครือข่ายมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น
ปี พ.ศ. 2537
การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล ในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพานิชย์ เรียกว่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
 (Internet Service Provider :ISP )  ที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่งต่างๆและแหล่งอื่นๆเพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ออกไปนอกประเทศได้







สิ่งที่มีบริการในอินเทอร์เน็ต 


อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลาดังนั้นจึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท

1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล ( Electronic mail หรือ e-mail ) 

เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสื่อสาร กับบุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริการระบบไปรษณีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษรแนบไปได้อีกด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น สำหรับรูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชื่อผู้ใช้ และ ชื่อเครื่องบริการ โดยใช้เครื่องหมาย @ คั่น




2.การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล ( File Transfer Protocal :FTP ) 

เป็นการโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องหนึ่งซึ่งอาจอยู่ใกล้หรือไกลกันในการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล โดยจะมีเครื่องต้นทาง ( local host )และเครื่องปลายทาง ( remote host )ทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย ซึ่งผู้ใช้งานโปรแกรมที่เครื่องต้นทางจะต้องระบุชื่อเครื่องหรือหมายเลขไอพีของเครื่องปลายทางที่ต้องการใช้บริการ
การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มีการทำงาน 2 ลักษณะ คือ
1. get เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องปลายทางมายังเครื่องต้นทาง ( download )
2. put เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องต้นทางมายังเครื่องปลายทาง ( upload )



3.การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น ( internet forum ) 

เป็นบริการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร การอภิปรายและแสดงความคิดเห็นร่วมกันของผู้คนในสังคมผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งแนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต คือ ใช้เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม ( social network ) เทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงข่าวสารมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ยูสเน็ต  (usenet ) เป็นบริการลักษณะกลุ่มสนทนาที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิก ( subscribe ) ในกลุ่มหัวข้อที่ตัวเองสนใจ และเมื่อเป็นสมาชิกแล้วจะสามารถดูข้อมูลข่าวสารต่างๆและแสดงความคิดเห็น ในกลุ่มหัวข้อนั้นได้ บล็อก ( blog ) เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เขียนบันทึกเรื่องราว โดยเรียงลำดับตามเวลา เพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสาร


4.การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต  

มี 2 รูปแบบ ดังนี้
1. การสนทนาเป็นกลุ่ม  เป็นการสนทนาโดยคู่สนทนาจะพิมพ์ข้อความไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความแสดงบนหน้าจอของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ร่วมสนทนาซึ่งผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบ
2. การสนทนาระหว่างผู้ใช้โดยตรง เป็นการสนทนาโดยมีเซิร์ฟเวอร์บอกตำแหน่งของโปรแกรมสนทนา ( instant messaging ) ของคู่สนทนา ทำให้ผู้ใช้สามารถสนทนากับผู้อื่นๆได้โดยตรง การสนทนาทำได้ทั้งการพิมพ์ข้อความ การส่งภาพกราฟิก เสียงและภาพเคื่อนไหว





5.บริการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 

การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตนั้น อาจต้องใช้เวลานานมาก กว่าจะพบเว็บเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆหรืออาจพบแต่เนื้อหาที่ไม่ถูกต้อง และบางครั้งอาจหาไม่พบเลย โดยวิธีที่ดีที่สุด คือ การสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล ( search site ) ซึ่งเว็บไซต่์ค้นหาข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการทำงาน ดังนี้
1. เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรมการค้นหา ( search engine ) เป็นเว็บไซต์ที่ผู้ใช้สามารถหาข้อมูลโดยการระบุคำสำคัญ เพื่อค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมการค้นหา ซึ่งข้อมูลจะครอบคลุม ทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าวและอื่นๆ โปรแกรมการค้นหาส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (keyword) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปและจะแสดงรายการผลลัพธ์ที่ตรงหรือใกล้เคียงกับคำสำคัญที่สุด
2. เว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ (web directories ) เป็นเว็บไซต์ที่มีการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต โดยแต่ละเว็บไซต์จะถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ที่เหมาะสม


ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต 

1. ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารในเครือข่ายขนาดใหญ่ กล่าวคือ ทำให้คนในสังคมติดต่อสื่อสารได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา
2. ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านอีเมล การประชุมทางไกลผ่าน
เครือข่าย
3. ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำให้เกิดการศึกษารูปแบบใหม่ที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้เกิดความสนุกในการเรียนรู้ อีกทั้งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ได้แก่ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต ( e-learning )




โทษของอินเทอร์เน็ต


1. ทำให้คนในสังคมมีข้อมูลมากมายมหาศาลจึงทำให้เกิดการแข่งขันด้านเศรษฐกินกันอย่างรุนแรง ทำให้คนในสังคมเกิดความกดดันและเกิดความเครียดสูงขึ้น ก่อให้เกิดความเครียดของคนในสังคม
2. เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นในสังคม เช่น การแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน การติดเกมประเภทความรุนแรง เป็นต้น
3. เกิดช่องว่างระหว่างคนในสังคม เนื่องจากคนในสังคมใช้เวลาในการเล่นอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมลดลง จนเเกิดคำพูดที่ว่า "เทคโนโลยีทำให้คนไกลใกล้กันมากขึ้นแต่เทคโนโลยีทำให้คนใกล้ไกลมากขึ้น"
4. เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป้นดลกเสรีที่ให้ผู้คนสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้ แต่การแสดงความคิดเห็นที่ไร้ขอบเขต ย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น
การแสดงความคิดเห็นด้วยถ้อยคำที่รุนแรงต่อบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
5. อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ผู้ไม่หวังดีอาจใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด เช่น การล่อลวงผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ตและก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในแง่มุมต่างๆ เป็นต้น
                                                                   
                                                                     




บรรณานุกรม    

อารียา  ศรีประเสริฐ, สายสุนีย์  เจริญสุขและสุปราณี วงษ์แสงจันทร์.  (2551).
       อินเทอร์เน็ตและการใช้งาน.  44-68.  กรุงเทพมหานคร: บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.


https://www.youtube.com/watch?v=n_7W4eCtKOg

https://www.youtube.com/watch?v=ZydveK4DtkI

https://www.youtube.com/watch?v=3eZx6ldjXHY





3 ความคิดเห็น: